วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ


ใบงานที่ 9
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์  และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ
1.             การขัดจังหวะ หรือการอินเตอร์รัปต์ หมายถึงอะไร จงอธิบาย
นิยมใช้ในระบบมาก ซึ่งซีพียูยังคงปฏิบัติโปรแกรมหลักปกติ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีสัญญาณมากระตุ้นที่ขาขัดจังหวะของ Z-80 (มี สองขา คือ INT และ NMI) และทำคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งเสร็จก็จะกระโดดไปยังโปรแกรมย่อยของโปรแกรมบริการขัดจังหวะ ซึ่งโปรแกรมนี้ จะเขียนขึ้นเพื่อตอบสนองต่ออุปกรณ์ต่างๆที่ร้องขอมา เมื่อเสร็จก็จะกระโดดกลับไปยังโปรแกรมหลักตามเดิม
2.             จงเปรียบเทียบการอินเตอร์รัปต์ กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไป ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
การดำเนินชีวิตของมนุษย์ก็จะเป็นเรื่องของงานอาจจะมีการสื่อสารกันผิดพลาดบ้างบางครั้ง  แต่ถ้าหากผู้ที่สั่งงานหรือผู้ที่รับคำสั่งเข้าใจในคำสั่งก็จะทำให้งานถูกต้องตามต้องการ และการอินเตอร์รัปต์บางครั้งถ้าอุปกรณ์ใดร้องขอขัดจังหวะมาซีพียูอาจจะตอบสนองหรือไม่ตอบสนองก็ได้ซึ่งการบังคับให้รับการตอบสนองหรือไม่นี้ คือการควบคุมการขัดจังหวะ
3.             สาเหตุที่การป้องกันฮาร์ดแวร์ มีบทบาทสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่รองรับหลายๆ งาน อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร จงอธิบาย
ข้อผิดพลาดหลายอย่างมักจะตรวจสอบได้โดยฮาร์ดแวร์ ซึ่งสามารถควบคุมได้โดยระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำการจัดการข้อผิดพลาดนั้นไป
4.             จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโหมดการทำงานของผู้ใช้ กับโหมดการทำงานของระบบมาให้พอเข้าใจ
คือ โหมดที่ผู้เข้าใช้งานจะเลือกใช้ตามลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการทำ  โหมดการทำงานของระบบคือการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในระบบนั้นๆ
5.             ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันอินพุต และเอาท์พุตอย่างไร จงอธิบาย
การควบคุมจำเป็นต้องใช้วิธีการที่หลากหลายเช่นกัน วิธีควบคุมเหล่านี้เรียกว่า ระบบย่อยอินพุต / เอาท์พุต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ  kernel ที่แยกจากการจัดการหน่วยความจำที่ซับซ้อนในระบบ



6.             ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันหน่วยความจำอย่างไร จงอธิบาย
ระบบปฏิบัติการที่ดีจะต้องมีการจัดการหน่วยความจำที่มีอยู่จำกัด ให้สามารถรองรับงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำจำนวนมากด้วย
7.             ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันซีพียูอย่างไร จงอธิบาย
ในการประกันว่า การควบคุมจะย้ายกลับมายังระบบเสมอ แม้ว่าจะมีงานบางงานทำงานวนรอบอย่างไรไม่มีสิ้นสุด เราสามารถทำได้โดยการใช้นาฬิกาจับเวลา นาฬิกานี้จะส่งสัญญาณไปขัดจังหวะฮาร์ดแวร์ ทำให้การควบคุมย้ายกลับมาที่ระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบอาจจะแก้ไขข้อผิดพลาด หรือต่อเวลาให้กับโปรแกรมผู้ใช้อีกก็ได้ คำสั่งในการกำหนดค่านาฬิกาจับเวลานี้ต้องเป็นคำสั่งสงวนด้วย

8.             โครงสร้างของระบบปฏิบัติการประกอบด้วยกี่ส่วน อะไรบ้าง
มี 6 ส่วน  1.ส่วนประกอบของระบบ  2. งานบริการของระบบปฏิบัติการ  3. การเรียกระบบ  4.โปรแกรมระบบ  5. โครงสร้างของระบบ  6. เครื่องจักรเสมือน
9.             ในการจัดการกับโปรเซส ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
1.การสร้างและลบทั้งโปรเซสของระบบและของผู้ใช้   2.การหยุดและทำโปรเซสต่อไป 
3.การจัดเตรียมกลไกสำหรับการซินโครไนซ์โปรเซส
   4.การจัดเตรียมกลไกสำหรับการติดต่อสื่อสารโปรเซส   5.การจัดเตรียมกลไกการแก้ไข deadlock 
10.      ในการจัดการกับหน่วยความจำ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
1.การทำงานของอินพุต/เอาต์พุตทั้งการอ่านและเขียนลงหน่วยความจำจะจำผ่าน DMA 
2.โปรเซสเซอร์ส่วนกลาง หรือซีพียูจะอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำตลอดเวลา
11.      ในการจัดการกับแฟ้มข้อมูล ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
1.สร้างและการลบไฟล์   2.สร้างและการลบไดเรกทอรี  3.สนับสนุนการจัดการไฟล์ในรูปแบบ
เดิม ๆ ที่ผ่านมา   4.แมพไฟล์ไปยังสิ่งที่ใช้จัดเก็บข้อมูล   5.แบ็คอัพหรือสร้างไฟล์สำรอง 
12.      ในการจัดการกับอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
1.การจัดการหน่วยความจำที่รวมทั้งบัพเพอร์ ,แคช และสพูล  2.อินเทอร์เฟซพื้นฐานของดีไวซ์ไดร์เวอร์ 
3.ไดร์เวอร์สำหรับดีไวซ์ที่มีรูปเฉพาะ
 


13.      ในการจัดการกับหน่วยความจำสำรอง เช่น ดิสก์ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
1.จัดการเนื้อที่ว่างบนดิสก์    2. จัดการตำแหน่งจัดเก็บข้อมูล ที่อาจจะกระจัดกระจาย แต่เมื่อมีการใช้งานจะต้องทำงานได้เร็ว โดยจะมีพอยเตอร์ชี้ไปยังกลุ่มข้อมูลเดียวกัน  3. การจัดแบ่งเวลาการใช้ดิสก์
14.      จงสรุปงานบริการของระบบปฏิบัติการมาพอเข้าใจ
ระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมให้โปแกรมทำงาน โดยให้บริการต่างๆ แก่โปรแกรมและผู้ใช้ระบบ ระบบปฏิบัติการต่างๆ มักมีการให้บริการที่แตกต่างกัน แต่จะมีส่วนหนึ่งที่เหมือนกันเพื่อให้ความสะดวกต่อผู้ใช้หรือผู้เขียนโปรแกรม ในการทำงานต่างๆ ให้ง่ายและรวดเร็ว
15.      ในการติดต่อระหว่างโปรเซสกับระบบปฏิบัติการ จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มงานใดบ้าง จงอธิบาย
การซินโครไนซ์และการส่งสัญญาณ และการส่งผ่านข้อมูลระหว่างโปรเซส 

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้ง Windows ไม่ผ่าน

การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้ง Windows ไม่ผ่าน

ตัวแก้ไขปัญหาอัตโนมัติสามารถใช้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับ Windows Update และอาจช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ให้แก่คุณได้เมื่อต้องการเรียกใช้ 'ตัวแก้ไขปัญหา Windows Update'
1.             คลิกปุ่มนี้: Microsoft Fixit  แก้ไขปัญหานี้
2.             ในกล่องโต้ตอบ ดาวน์โหลดแฟ้ม ให้คลิก เรียกใช้ แล้วทำตามขั้นตอนต่างๆ ในตัวช่วยสร้าง
3.             เปิด Windows Update แล้วพยายามติดตั้งการปรับปรุงอีกครั้ง

แก้ปัญหา Error massage

แก้ปัญหา Error massage
Error massage 
- 8042 GATE-A20 ERROR
เป็นปัญหาที่ชิพควบคุมการทำงานของคีย์บอร์ด ซึ่งเรียกว่า 8042 Keyboard Controller ให้คุณลองเปลี่ยนคีย์บอร์ดตัวใหม่ดูก่อน ถ้ายังไม่หาย แสดงว่าเป็นปัญหาที่ตัวชิพ 8042 บนเมนบอร์ด ถ้าเป็นอย่างนั้นคงต้องเปลี่ยนชิพ 8042 หรือเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- 8087 NMI XXXX.XXXX.TYPE(S)HUT OFF NMI,(R)EBOOT,OTHER KEYS TO CONTINUE
แสดงว่ามีปัญหาที่ Math Coprocessor ให้ลองใช้โปรแกรมทดสอบ Math Coprocessor ทดสอบดู ถ้าไม่ผ่านให้เปลี่ยน Math Coprocessor ซึ่งถ้าเป็นเมนบอร์ด 486 ก็คงสามารถทำได้ เพราะ Math Coprocessor จะแยกกับซีพียู แต่สำหรับเมนบอร์ดเพนเทียม Math Coprocessor จะรวมอยู่กับซีพียู
- ACCESS DENIED
ข้อความนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเขียนไฟล์ที่เป็น Read-Only หรือเขียนไฟล์ที่อยู่ในแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่ Write-Protect แต่ถ้าเป็นไฟล์ที่ Read-Only เอาไว้ หากเป็นบน DOS ก็ให้ใช้คำสั่ง Attrib ของ DOS ในการยกเลิก Read-Only หากเป็นบน Windows 95 ก็ให้คลิกเม้าส์ขวาที่ไฟล์นั้น แล้วเลือก Properties คลิกเอาเครื่องหมายถูกออกจากช่อง Read-Only 
- ALLOCATION ERROR,SIZE ADJUSTED

ข้อความผิดพลาดนี้เกิดจากการใช้คำสั่ง CHKDSK ซึ่งแสดงว่าขนาดของไฟล์ที่เป็นขนาดทางฟิสิคัล กับขนาดที่ได้กำหนดขึ้น(Allocate) ไม่ตรงกัน คุณควรจะแบ๊คอัพข้อมูลเก็บไว้ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น
- ATTEMPTED WRITE-PROTECT VIOLATION
ข้อความนี้จะเกิดจากการฟอร์แมตแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่ได้ Write-Protect เอาไว้ ถ้าคุณต้องการฟอร์แมตแผ่นจริงๆ ก็ให้ยกเลิกWrite-Protect บนแผ่น
- BAD DMA PORT=XX
แสดงว่าชิพ DMA Controler บนเมนบอร์ดมีปัญหา คือไม่สามารถผ่านขั้นตอน Post ขณะเปิดเครื่องได้ วิธีแก้ไขคือให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่เลย
- BAD OR MISSING COMMAND INTERPRETER
แสดงว่าแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่ใช้บูต หรือฮาร์ดดิสค์ที่เป็นตัวบูตไม่มีไฟล์ Command.com อยู่ ให้คุณหาแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่มีไฟล์ระบบของ DOS อยู่มาบูตแทน ถ้าเป็นฮาร์ดดิสค์ที่ไม่มีไฟล์นี้อยู่ ก็ให้บูตจากแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ก่อน แล้วก๊อปปี้ไฟล์นี้เข้าไปไว้ในรูตของฮาร์ดดิสค์ที่ใช้บูต ข้อสำคัญคือ ระบบปฏิบัติการที่ใช้ฮาร์ดดิสค์ต้องเป็นตัวเดียวกัน และเวอร์ชั่นเดียวกันกับที่บูตจากแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ 

- BAD PARTITION TABLE

ถ้าพบข้อความนี้ให้ลองแบ่งพาร์ติชั่นด้วยคำสั่ง FDISK ใหม่ ถ้ายังไม่หายอีก อาจจะเป็นไปได้ว่าเกิดจากไวรัสที่เข้าไปทำลายตารางพาร์ติชั่น ให้ใช้โปรแกรม Anti-Virus ลองสแกนฮาร์ดดิสค์ดู ถ้าไม่พบไวรัสก็คงต้องใช้เป็นวิธีสุดท้ายแล้วเท่านั้น เพราะการฟอร์แมตแบบนี้ไม่ค่อยดีเท่าใดนักสำหรับฮาร์ดดิสค์

- C:DRIVE ERROR
ปัญหานี้เกิดจากการเซต Type ใน CMOS Setup ไม่ตรงกับฮาร์ดดิสค์ที่ใช้อยู่ ไม่ได้เป็นเพราะฮาร์ดดิสค์เสียแต่อย่างใด ทำให้CMOS ไม่สามารถกำหนดค่าของฮาร์ดดิสค์ไดรฟ์ C ได้ ให้คุณเข้าไปยัง CMOS Setup

- C:DRIVE FAILURE
ข้อความนี้แสดงว่าฮาร์ดดิสค์ไม่มีการทำงาน เป็นปัญหาที่ตัวฮาร์ดดิสค์โดยตรง ทำให้ไบออสไม่สามารถติดต่อกับฮาร์ดดิสค์ได้ อันดับแรกให้ลองตรวจสอบดูก่อนว่ามีเพาเวอร์เข้าไปยังฮาร์ดดิสค์หรือไม่ โดยดูว่าปลั๊กเพาเวอร์เสียบเข้ากับฮาร์ดดิสค์อย่างแน่นหนาหรือไม่ สายเคเบิลใช้งานได้หรือไม่ สายเคเบิลต่อกับฮาร์ดดิสค์ถูกต้องหรือไม่ ถ้าทำตามข้อต่างๆข้างต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ให้ลองฟอร์แมตแบบ Low Level ดู ถ้ายังไม่หายอีกคราวนี้ก็ต้องเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ 
- CHCHE MEMORY BAD, DO NOT ENABLE CACHE

แคชบนเมนบอร์ดไม่ทำงาน ให้เปลี่ยนแคชใหม่
- CH-2 TIMER ERROR
ชิพ Timer บนเมนบอร์ดไม่ทำงาน ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- CMOS BATTERY STATE LOW
แสดงว่าแบตเตอรี่ที่ใช้แบ็คอัพ CMOS RAM มีกำลังไฟอ่อนลง ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
- CMOS CHECKSUM FAILURE
ตามปกติแล้วหลังจากที่มีการเซฟค่า CMOS RAM ที่ได้กำหนดไว้ ก็จะมีการสร้างค่า Checksum ขึ้นมา ซึ่งถ้าค่าเดิมกับค่าปัจจุบัน มีค่าแตกต่างกันก็จะมีการแจ้งข้อผิดพลาดข้างต้น วิธีแก้ไขคือให้เซตอัพไบออสใหม่ ถ้ายังไม่หายอีกก็แสดงว่าอาจเป็นปัญหาที่ชิพ CMOS ซึ่งอยู่บนเมนบอร์ด ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- CMOS DISPLAY TYPE MISMATCH
ค่าที่กำหนดชนิดของการ์ดแสดงผลในไบออสไม่ตรงกับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ใช้อยู่ ซึ่งเป็นไปได้ว่า CMOS Setup กำหนดเป็น Mono แต่การ์ดแสดงผลที่ใช้อยู่เป็นแบบ VGA 



- CMOS PORT DOES NOT EXIST 
แสดงว่าพอร์ตอนุกรมมีปัญหา ให้ลองใช้โปรแกรมทดสอบว่าสามารถพบพอร์ดอนุกรมหรือไม่ ถ้าหาไม่พบ และไม่สามารถแก้ไขได้จริงๆ ให้ดูบนเมนบอร์ดว่ามีจัมเปอร์ที่ใช้สำหรับยกเลิกพอร์ตอนุกรมหรือไม่ ถ้ามี ให้จัมป์เพื่อยกเลิก แล้วในการ์ด I/Oแทน
- DISK BAD
แสดงว่ามีปัญหาที่ฮาร์ดดิสค์ให้ตรวจอสอบว่าสายเคเบิลใช้ได้หรือไม่ และต่อเอาไว้เรียบร้อยหรือไม่ ให้ลองฟังเสียงและดูว่าแพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสค์หมุนหรือไม่ ถ้าฮาร์ดดิสค์ไม่มีเสียงหมุน ให้ถอดปลั๊กเพาเวอร์ซัพพลายที่ต่อกับฮาร์ดดิสค์ออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ แต่ถ้ายังไม่ทำงานอีก โดยดูให้แน่ใจด้วยว่าเพาเวอร์ซัพพลายสามารถทำงานได้ปกติ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็คงต้องส่งซ่อม
- DISK CONFIGURATION ERROR
สาเหตุจากการนำเอาฮาร์ดดิสค์รุ่นใหม่ๆมาใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โดยไบออสไม่สามารถรู้จักฮาร์ดดิสค์ที่ต่อได้ แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยอัพเกรดไบออสให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่
- DISK DRIVE 0 SEEK FAILURE
ปัญหานี้เกิดจากการที่ไม่ได้ต่อฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์เอาไว้ แต่ไปเซตใน CMOS Setup ให้มีการใช้ฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์ ทำให้ไบออสไปมองหาไดรฟ์ที่ไม่ได้ต่ออยู่จริง ดังนั้นถ้าหากคุณไม่ได้ต่อฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์ ก็ให้เข้าไปยกเลิกในไบออสด้วย 
- DISK DRIVE RESET FAILED

เกิดจากคอนโทรลเลอร์ของดิสค์ไดรฟ์ไม่สามารถรีเซตการทำงานได้ ให้ลองปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ ถ้ายังไม่หาย ให้เปลี่ยนคอนโทรลเลอร์ใหม่ ซึ่งถ้าเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่คอนโทรลเลอร์จะอยู่บนเมนบอร์ด ก็เท่ากับต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- DISK BOOT FAILURE
แสดงว่าแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่ใช้บูตไม่มีไฟล์ระบบอยู่จึงไม่สามารถบูตได้ ให้สร้างไฟล์ระบบสำหรับบูตกับแผ่น
- DISK READ FAILURE
ถ้าเกิดปัญหานี้ให้ดูก่อนว่าสายเคเบิลต่อถูกต้องหรือไม่ และสายเพาเวอร์ต่อเรียบร้อยหรือไม่ ลองเปลี่ยนแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ใหม่ ถ้ายังไม่หาย แสดงว่าฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์เสีย ให้เปลี่ยนใหม่
- DMA ERROR
ปัญหาเกิดจากชิพ DMA ไม่ทำงาน ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ 



- DRIVE NOT READY
ปัญหานี้ถ้าเกิดกับฟลอปปี้ไดรฟ ก็ให้คุณตรวจสอบว่าสายเคเบิลไม่เสียหาย ดูว่าการต่อสายเคเบิลและสายเพาเวอร์เรียบร้อยดีหรือไม่ พินของฟลอปปี้ไดรฟ์ไม่หักงอ ถ้าสำรวจตามข้างต้นแล้วก็ยังไม่หาย ฟลอปปี้ดิสค์ไดรฟ์อาจมีปัญหาที่ตัวเซนเซอร์ข้างใน ทำให้ฟลอปปี้ดิสค์ไม่สามารถรับรู้ว่ามีแผ่นอยู่แล้ว ถึงแม้จะใส่แผ่นเข้าไปแล้ว
- FDD CONTROLLER FAILURE
เป็นปัญหาที่คอนโทรลเลอร์ควบคุมฟลอปปี้ไดรฟ์ หรืออาจเป็นปัญหาที่ฟลอปปี้ไดรฟ์ ให้ตรวจสอบสายต่างๆว่าต่อเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่ใช้การ์ด I/O ให้ดูว่าการ์ดเสียบกับสล้อตแน่นหรือไม่ ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนการ์ด แต่ถ้า I/Oอยู่บนเมนบอร์ด ก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- FILE ALLOCATION TABLE BAD
FAT มีปัญหาให้ใช้โปรกแกรมซ่อมแซมดิสค์ตรวจสอบดู
- GATE A20 FAILURE
ไบออสไม่สามารถสวิตช์ให้ซีพียูทำงานที่ Protected Mode ได้ ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดจากคีย์บอร์ดไม่ดีก็ได้ หรืออาจเกิดเนื่องจากสัญญาณที่ส่งออกมาจากชิพ 8042 ผิดพลาด ให้ลองเปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่ ถ้าเปลี่ยนแล้วยังไม่หาย แสดงว่าอาจเกิดปัญหาที่ชิพ ซึ่งก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- GENERAL FAILURE READING DRIVE X: 
ถ้าเจอข้อความนี้ครั้งแรก ให้กดแป้น I เพื่อเลือก Ignore แล้วทดสอบดิสค์ด้วยโปรแกรมตรวจสอบดิสค์ ถ้ายังขึ้นข้อความอีกให้เลือก Abort โดยกดแป้น A แล้วตรวจสอบสายที่ต่ออยู่ ถ้าหากเป็นฟลอปปี้ไดรฟ์ ให้ลองเปลี่ยนแผ่นใหม่
- HARD DISK FAILURE
ให้ดู C:DRIVE FAILURE สาเหตุและวิธีแก้ไขจะเหมือนกัน
- INSUFFICIENT MEMORY 
แสดงว่าโปรแกรมที่คุณเรียกขึ้นมาต้องการใช้แรมมากกว่าที่มีติดตั้งอยู่ในเครื่อง ให้คุณดูว่ามีโปรแกรมอื่นเปิดอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้ปิดลงไปให้หมด และมีโปรแกรมใดถูกเรียกที่ Start Up หรือไม่ ถ้ามีก็ให้ปิดโปรแกรมเหล่านั้นลงไป แล้วลองดูใหม่ ถ้ายังไม่ดีขึ้น ก็ต้องติดตั้งแรมเพิ่ม หรือใช้โปรแกรมจัดการหน่วยความจำ
- INTERNAL CACHE TEST FAILED
ถ้าพบอาการเช่นนี้ให้ลองบูตเครื่องใหม่ก่อน แต่ถ้ายังเป็นอยู่ แสดงว่าแคชในซีพียูไม่ทำงานแล้ว คุณต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่ 
- INTR1 ERROR

Interrupt Controller มีความเสียหาย ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- KEYBOARD BAD
คีย์บอร์ดไม่ผ่านขั้นตอนของการ POST ให้ดูก่อนว่าคีย์บอร์ดต่ออยู่เรียบร้อยหรือไม่ ถ้ายังไม่หาย ให้เปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่
- KEYBOARD ERROR
ปัญหานี้อาจเกิดจากคีย์บอร์ดที่ใช้ไม่คอมแพตทิเบิลกับไบออส AMI ให้ลองเซตตรงส่วนของคีย์บอร์ดใน CMOS Setup เป็นNot Installed แล้วบูตเครื่องใหม่
- MEMORY ADDRESS LINE FAILURE AT XXX:XXX,...
เกิดปัญหาที่เส้นแอดเดรสของหน่วยความจำบนเมนบอร์ด ให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- MEMORY PARITY ERROR AT XXXX
แสดงว่าชิพที่อยู่บนแรมมีปัญหา ให้เปลี่ยนแรมใหม่
- NO BOOT DEVICE AVAILABLE
ถ้าไม่สามารถบูตทั้งฟลอปปี้ไดรฟ์และฮาร์ดดิสค์ ถ้าเป็นการบูตที่ฟลอปปี้ดิสไดรฟ์ ให้คุณดูก่อนว่าแผ่นที่ใส่เข้าไปมีไฟล์ระบบอยู่หรือไม่ และตรวจสอบว่าสายต่อดีหรือไม่ ถ้าไม่สามารถบูตที่ฮาร์ดดิสค์ได้ ให้ตรวจสอบว่าสายต่อีอยู่หรือไม่ ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้ใช้โปรแกรมตรวจสอบดิสค์ทำการทดลอง เป็นไปได้ว่าอาจเกิดความเสียหายที่ส่วนของการบูต หรือไม่ได้รับการ alignment
- NON-DOS DISK ERROR READING(WRITING) DRIVE X: 
ข้อความนี้แสดงว่าคอมพิวเตอร์ไม่สามารถหาแทร็คสำหรับบูตบนแผ่นดิสค์พบ ให้ก๊อปปี้ไฟล์ระบบเข้าไปใหม่โดยใช้คำสั่ง Sys
- NO TIMER TICK INTERRUPT
ชิพ Timer ที่อยู่บนเมนบอร์ดไม่สามารถรับ Interrupt to ที่ Interrupt controller ส่งออกมา ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
- POINTER DEVICE FAILURE
มีปัญหาเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการชี้ตำแหน่ง ให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวต่ออยู่กับพอร์ต PS/2 ดีหรือไม่ ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนอุปกรณ์ในการชี้ตำแหน่งใหม่
- PROCESSING CANNOT CONTINUE
ข้อผิดพลาดนี้เกิดจากการเรียกใช้งานโปรแกรมบน DOS โดยมีหน่วยความจำไม่เพียงพอ ให้เพิ่มแรมให้มากขึ้น
- RAM BAD
มีการผิดพลาดที่ชิพของแรม หรือมีปัญหาที่เมนบอร์ด
- REAL TIME CLOCK FAILURE
ปัญหาเกิดจากแบตเตอรี่ไฟไม่พอจ่ายให้กับชิพ Real Time Clock บนเมนบอร์ด ทำให้เวลาเดินไม่ตรง ให้เข้าไปที่ CMOS Setup แล้วเซตเวลาใหม่ ถ้ายังไม่หาย ให้ลองเปลี่ยนแบตเตอรี่ ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลาย
- XX=SCANCODE, CHECK KEYBOARD
ข้อความนี้แสดงว่าคอมพิวเตอร์ได้รับสัญญาณที่ส่งมาจากคีย์บอร์ด โดยอาจจะเกิดจากขั้วต่อของคีย์บอร์ดต่อไม่แน่น มีการหักงอของขาสัญญาณ หรืออาจเกิดจากมีคีย์ใดคีย์หนึ่งเกิดการค้าง ให้แก้ไขไม่ให้คีย์บอร์ดค้าง หรือถ้าไม่ดีขึ้นก็ให้เปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่
- TRACK 0 BAD - DISK UNUSABLE
ถ้าปัญหานี้เกิดขึ้นกับฟลอปปี้ดิสค์ ก็เป็นไปได้ว่าเกิดจากการฟอร์แมตแผ่นฟลอปปี้ดิสค์ที่มีขนาดใหญ่ ในไดรฟ์ที่ความจุน้อย แต่ถ้าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสค์ คุณก็ต้องเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่